วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554
บรรยากาศการร่วมแรงร่วมใจกันของโครงการห้องสมุดเครือข่ายมหิดลพญาไทเพื่อสังคม: ณ โรงเรียนว้ดลิ้นทอง จ.อ่างทอง
วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554
โครงการห้องสมุดเครือข่ายมหิดลพญาไทเพื่อสังคม : ใกล้จะสำเร็จแล้ว
คณะทำงานเครือข่ายพัสดุมหิดลพญาไท ในส่วนของ CSR เครือข่ายมหิดลพญาไท ซึ่ง ประกอบด้วยส่วนงาน / หน่วยงาน คือ
1. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
2. คณะวิทยาศาสตร์
3. คณะสาธารณสุขศาสตร์
4. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
5. คณะทันตแพทยศาสตร์
6. คณะเภสัชศาสตร์
7. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
8. ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา
9. วิทยาลัยการจัดการ
โดยคณะทำงานฯ ได้จัดทำ “โครงการห้องสมุดเครือข่ายมหิดลพญาไทเพื่อสังคม” และมีการประชุมระดมสมองกันมาตลอดเพื่อให้โครงการนี้บรรลุผล รวบรวมวัสดุที่เหลือใช้จากคณะและส่วนงานต่างๆ รวมถึงเดินทางดูพื้นที่โรงเรียนต่างๆที่ยื่นความจำนงขอเข้าร่วมโครงการฯ
และเป็นที่ทราบกันแล้วว่า “โครงการห้องสมุดเครือข่ายมหิดลพญาไทเพื่อสังคม” นี้เป็นกิจกรรมเพื่อสังคมให้แก่โรงเรียนที่ขาดแคลนห้องสมุด และสร้างเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ให้กับเด็กที่จะก้าวมาเป็นอนาคตของชาติต่อไปนั้น
บัดนี้คณะทำงานฯได้พิจารณาคัดเลือกหาโรงเรียนที่ขาดแคลนห้องสมุดจากหลายโรงเรียน และสุดท้ายได้เลือกโรงเรียนที่สมควรจัดทำ ห้องสมุดเครือข่ายมหิดลพญาไทเพื่อสังคมได้แล้ว คือ โรงเรียนวัดลิ้นทอง จ.อ่างทอง ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 แต่ยังขาดแคลนงบประมาณในการจัดทำห้องสมุด และจะมีการทำ พิธีเปิดห้องสมุดเครือข่ายมหิดลพญาไทเพื่อสังคม ในวันที่ 14 ก.พ.2554
โรงเรียนอื่นๆที่แจ้งความจำนงไว้แล้วนั้นทางคณะทำงานฯจะ
พิจารณาต่อไปค่ะ
.
วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553
โครงการห้องสมุดเครือข่ายมหิดลพญาไทเกิดแล้ว: ได้แรงบันดาลใจจากเรา
สืบเนื่องจากส่วนงานต่าง ๆในวิทยาเขตพญาไท มหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะทันตแพทยศาสตร์ วิทยาลัยการจัดการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา มีแนวคิดที่จะร่วมทำกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นเครือข่าย โดยใช้ชื่อว่า "เครือข่ายมหิดลพญาไท" ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนั้นมีการประสานงานร่วมกันอย่างมีระบบร่วมกันมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่มหาวิทยาลัยและสังคม
ในฐานะที่ฝ่ายการพัสดุ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายฯ จึงมีนโยบายร่วมกันกับฝ่าย/งาน/หน่วยพัสดุของส่วนงานในเครือข่ายมหิดลพญาไท โดยจัดทำ “โครงการเครือข่ายพัสดุมหิดลพญาไท” และในแผนปฏิบัติการของโครงการฯ ได้กำหนดให้มีกิจกรรมเพื่อสังคม(Corporate Social Responsibility - CSR) ไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งงานบริหารทรัพยากรการเรียนรู้ คณะแพทยศาสตร์โรงพยายาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล รับหน้าที่เป็นประธานคณะทำงานส่วน CSR เครือข่ายมหิดลพญาไท และเป็นที่ประจักษ์ว่าโครงการห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคมเป็นโครงการที่เกิดประโยชน์ต่อสังคมมาก ดังนั้นเครือข่ายมหิดลพญาไทจึงมีมติกำหนดให้มี “โครงการห้องสมุดเครือข่ายพญาไทเพื่อสังคม” เช่นเดียวกัน ซึ่งจะเป็นกิจกรรมแรกที่จะดำเนินการจัดทำ โดยการรับบริจาค หนังสือ ตู้ ชั้นวางหนังสือ คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์รุ่นเก่า หมึกพิมพ์และผลิตสื่อการศึกษาตามความต้องการของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งออกแบบและจัดห้องสมุด โครงการนี้นอกจากเป็นประโยชน์ต่อสังคมแล้วยังเป็นการสนับสนุนให้โรงเรียนมีห้องสมุดเพื่อเพิ่มโอกาสและส่งเสริมทางการศึกษารวมทั้งมีแหล่งค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
คณะกรรมการฯ ได้เริ่มประชุมระดมสมองกันเพื่อเริ่มลงมือกันเลย เมื่อวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2553 และตั้งเป้าหมายว่าจะทำการส่งมอบห้องสมุดให้โรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกแล้วโดยการพิจารณาจากคุณสมบัติที่เหมาะสม ในวันเด็กปี พ.ศ. 2554 นี้
.
วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ผู้ใจบุญมอบของดีๆสำหรับเด็กให้ในโครงการห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคม
ในช่วงที่กำลังจัดทำโครงการครั้งใหม่ มีผู้ใจบุญมอบของดีๆสำหรับเด็กให้ในโครงการห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคมอีกแล้ว ท่านคือ ศาสตราจารย์รณชัย คงสกนธ์ ซึ่งเป็นรองคณบดีฝ่ายการพัสดุ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ของที่ท่านมอบให้ทั้งหมดนี้เป็น หนังสือ Printer โต๊ะ เครื่องเล่นสำหรับเด็กมากมาย ท่านทราบไหมว่าของเล่นเหล่านี้มีส่วนพัฒนาให้เด็กที่ใช้ของดังกล่าวนี้ คือ บุตรชายของท่าน ได้เป็นนักศึกษาแพทย์แล้ว
ในฐานะผู้ที่ผลักดันให้เกิดโครงการห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคม ศาสตราจารย์รณชัย คงสกนธ์ ได้คำนึงถึงการแบ่งปันสิ่งดีๆให้มีโอกาสเท่าเทียมกันได้โดยการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ท่านใดที่มีแนวคิดเช่นเดียวกันนี้ ขอให้แจ้งให้คณะทำงานทราบเราจะได้ร่วมมือกันทำประโยชน์ต่อสังคมต่อไป
วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553
พิธีส่งมอบ"ห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคม" แห่งที่ 2 ให้แก่โรงเรียนวัดโพธิ์ประสิทธิ์ อ. มหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันพุธที่ 8 กันยายน 2553 เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่ คณะทำงานโครงการ"ห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคม" ได้บรรลุภาระกิจของการส่งมอบ "ห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคม" แห่งที่ 2 ให้แก่โรงเรียนที่มีคุณสมบัติตามโครงการฯ คือโรงเรียนวัดโพธิ์ประสิทธิ์ อ. มหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดย ศาสตราจารย์รณชัย คงสกนธ์ รองคณบดีฝ่ายการพัสดุ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานในการส่งมอบครั้งนี้ ความรู้สึกปลื้มปิติมีทั้งผู้ให้และผู้รับรวมทั้งเด็กๆก็ชื่มชมและมีความสุขที่ได้ใช้ห้องสมุดใหม่
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณผู้สื่อข่าวช่อง 7 ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลในเรื่องของการปลูกฝัง นิสัยรักการอ่าน และเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต(Lifelong Learning) โดยให้ความอนุเคราะห์เผยแพร่ข่าวในพิธีส่งมอบ"ห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคม" แห่งที่ 2 ให้แก่โรงเรียนวัดโพธิ์ประสิทธิ์ อ. มหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โครงการนี้จะสำเร็จลงไม่ได้ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีและผู้มีจิตศรัธทาที่มอบเงินและหนังสือให้กับโครงการฯ คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ มา ณ ที่นี้ด้วย
คณะทำงานฯขอยืนยันว่า โครงการ"ห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคม" แห่งที่ 3 แห่งที่ 4……กำลังจะดำเนินการต่อมาให้แก่โรงเรียนที่มีคุณสมบัติตามโครงการฯ ในเร็วๆนี้
.
วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
โครงการห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคม ครั้งที่ 2 ที่โรงเรียนวัดโพธิ์ประสิทธิ์ (วิบูลย์บำรุง)
โรงเรียนวัดโพธิ์ประสิทธิ์ (วิบูลย์บำรุง)เป็นโรงเรียนระดับ อนุบาลถึง ม. 3 ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านนา อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นโรงเรียนเก่ามาก ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2481 โดยใช้ศาลาการเปรียญวัดโพธิ์ประสิทธิ์ เป็นสถานที่เล่าเรียน ขุนบริหารธนานันท์ นายอำเภอมหาราชเป็นผู้จัดตั้ง ต่อมา ในปีพ.ศ. 2552 อาคารเรียนแบบ ป.1 ข ได้ชำรุดทรุดโทรมลง ไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน ได้มีผู้ใจบุญคือ คุณแม่สมศรี คุณนุชนารถ รัตนสุวรรณชาติ พร้อมด้วยครอบครัว ได้กรุณาบริจาคเงินสร้างอาคารเรียนแบบ สปช.105/29 ไว้ให้เห็นในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามโรงเรียนแห่งนี้ก็ยังขาดวัสดุ ครุภัณฑ์และหนังสือในห้องสมุด คณะทำงานของโครงการฯในห้องสมุด ซึ่งคณะทำงานของโครงการฯ ลงมติเห็นพ้องกันที่จะส่งมอบวัสดุ ครุภัณฑ์และหนังสือ ในวันที่ 8 กันยายน 2553 นี้
ในการนี้โรงเรียนใด ประสงค์จะได้รับการสนับสนุนจากโครงการห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคม หลังจากที่ท่านอ่านรายละเอียดของโครงการแล้ว สนใจกรุณาเปิดดูใบสมัคร เพื่อเข้าร่วมโครงการ หรือ ติดต่อที่ คุณ วัชรินทร์ กนกทรัพย์ 02-2012341, 02-2012339
.
วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553
พิธีส่งมอบ "ห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคม" แห่งที่ 1
วันศุกร์ที่ 30 เมษายน 2553 เวลา 09.00 -10.00 น. เป็นวันที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำ“พิธีมอบห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคมครั้งที่ 1”ณ รร.สกัด 80 อ.บางประกง จ.ฉะเชิงเทรา
คณะทำงานฯ รองคณบดีฝ่ายการศึกษา รองศาสตราจารย์สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ และผู้ช่วยคณดีฝ่ายการพัสดุ คุณสมพร โชติวิทยธารากร ออกเดินทางออกจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เวลา 07.30 น. พวกเราเตรียมขนและติดตั้งอุปกรณ์ประกอบพิธีส่งมอบห้องสมุดฯ เช่น ริบบิ้นสำหรับประธานฯตัด การตกแต่งด้วยลูกโป่ง เป็นต้น (คุณพจน์ จ้อยโสภณ เลขานุการ และคุณจเร ทั่งโต ผู้ช่วยเลขานุการ เดินทางมาก่อนเพื่อแก้ไขอุปกรณ์บางอย่างที่ไม่สมบูรณ์ ตั้งแต่ 6.00 น. แล้ว .......ขอชื่นชมมากค่ะ)
รองศาสตราจารย์สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ เป็นประธานในพิธีนี้ค่ะ โดยมีคุณสมพร โชติวิทยธารากร เป็นผู้กล่าวที่มาของโครงการ และพิธีสิ้นสุดเวลา 10.00 น.
ผู้อำนวยการ คือ อาจารย์จงกล จั่นนิล แขกผู้มีเกียรติและนักเรียน รร.สกัด 80 ให้การต้อนร้บเป็นอย่างดี
นักเรียนมาแสดงกิจกรรมเป็นการเต้นประกอบเพลง และร้องเพลง เพื่อขอบคุณโครงการนี้
ดูจากสีหน้า.....เด็กๆทุกคนมีความสุขมากค่ะ