วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553

พิธีส่งมอบ "ห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคม" แห่งที่ 1


วันศุกร์ที่ 30 เมษายน 2553 เวลา 09.00 -10.00 น. เป็นวันที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำ“พิธีมอบห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคมครั้งที่ 1”ณ รร.สกัด 80 อ.บางประกง จ.ฉะเชิงเทรา





คณะทำงานฯ รองคณบดีฝ่ายการศึกษา รองศาสตราจารย์สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ และผู้ช่วยคณดีฝ่ายการพัสดุ คุณสมพร โชติวิทยธารากร ออกเดินทางออกจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เวลา 07.30 น. พวกเราเตรียมขนและติดตั้งอุปกรณ์ประกอบพิธีส่งมอบห้องสมุดฯ เช่น ริบบิ้นสำหรับประธานฯตัด การตกแต่งด้วยลูกโป่ง เป็นต้น (คุณพจน์ จ้อยโสภณ เลขานุการ และคุณจเร ทั่งโต ผู้ช่วยเลขานุการ เดินทางมาก่อนเพื่อแก้ไขอุปกรณ์บางอย่างที่ไม่สมบูรณ์ ตั้งแต่ 6.00 น. แล้ว .......ขอชื่นชมมากค่ะ)
































รองศาสตราจารย์สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ เป็นประธานในพิธีนี้ค่ะ โดยมีคุณสมพร โชติวิทยธารากร เป็นผู้กล่าวที่มาของโครงการ และพิธีสิ้นสุดเวลา 10.00 น.








ผู้อำนวยการ คือ อาจารย์จงกล จั่นนิล แขกผู้มีเกียรติและนักเรียน รร.สกัด 80 ให้การต้อนร้บเป็นอย่างดี














นักเรียนมาแสดงกิจกรรมเป็นการเต้นประกอบเพลง และร้องเพลง เพื่อขอบคุณโครงการนี้
ดูจากสีหน้า.....เด็กๆทุกคนมีความสุขมากค่ะ












วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

การขนย้ายและติดตั้งห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคม: เหนื่อยแต่ภูมิใจ







วันนี้ได้ฤกษ์ดีของโครงการห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคม ในการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งหนังสือ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ แม้ว่าจะหนัก ร้อน เหนื่อย แต่ทุกคนก็สนุกและเต็มใจ เราเดินทางไปโดยใช้รถบรรทุกเล็กสำหรับใส่ของและรถตู้สำหรับทีมงานหลายชีวิตปรากฏว่ามีการพลัดหลงกันระหว่างรถ 2 คันนี้ กว่าจะประสานงานกันได้ ก็ใช้เวลาพอสมควร







ก่อนที่จะมีการจัดวางของทั้งหมดเข้าห้อง ต้องมีการตกแต่งส่วนที่เสียหายในขณะขนย้าย เช่น ทาสี ซ่อมขาเก้าอี้ จัดหนังสือ ทำผ้าม่าน และอื่นๆ ดูซิคะ ......สนุกดีแม้จะเหนื่อยและอากาศร้อน



เราใช้เวลา 2 วัน คือวันที่ 27 -28 เมษายน 2553 หลังจากที่คณะทำงานติดตั้งสิ่งต่างๆที่ขนย้ายมาจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเรียบร้อยแล้วจะมีการเก็บรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ

และแล้วก็พบกับความสำเร็จภายในห้องสมุดมีเฟอร์นิเจอร์ที่เหมาะสม มีคอมพิวเตอร์ มีหนังสือ มีผ้าม่านสีสวย และมีอีกหลายอย่างที่สมควรจะให้มีในห้องสมุดสำหรับเด็กๆ ระดับ อนุบาลและประถมศึกษาที่มีนักเรียน ประมาณ 60 คน


























จากการที่คณะทำงานฯ ได้ช่วยกันดำเนินการโครงการนี้ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 6 เดือน พบว่านอกจากผู้อำนวยการและเด็กนักเรียน (โรงเรียนนี้มีนักเรียนระดับ อนุบาล -ป.6) ของโรงเรียนสกัด 80 จ.ฉะเชิงเทรา จะตื่นเต้นและดีใจมากที่โรงเรียนของพวกเขาจะมีห้องสมุดที่สมบูรณ์ขึ้น รวมทั้งมีคอมพิวเตอร์ พร้อมเครื่องพิมพ์ ที่ทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมอบให้แล้ว ทางคณะทำงานฯเองก็ดีใจเช่นเดียวกันที่ได้ทำสิ่งดีๆเพื่อสังคม ตามนโยบายคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีด้วยเช่นกัน


วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553

ลงมือแล้ว......ความสำเร็จอยู่ข้างหน้า


คณะทำงานฯและผู้เกี่ยวข้องให้ความร่วมมิอกันอย่างเต็มที่ โดยการออกแบบการจัดวาง การคัดเลือกเฟอร์นิเจอร์ และครุภัณฑ์ ที่มีสภาพดี
สามารถนำมาใช้งานได้



คณะทำงานฯ บางคนมัฝีมือ ก็จะทำด้วยตนเอง เช่น ขัดและทาสีชั้นหนังสือ และอื่นๆอีกมากมาย แม้ว่าจะเหนื่อยคณะทำงานฯ ก็เต็มใจและมุ่งมั่นที่จะทำให้ดีที่สุด เห็นแล้วชื่นชมมาก



มีผู้มีจิตศรัทธา บริจาคหนังสือมาให้มากมาย ล้วนแต่เป็นหนังสือที่มีประโยชน์ต่อเด็กๆทั้งสิ้น

สำรวจพื้นที่และสำรวจพัสดุครุภัณฑ์ก่อนดำเนินการ














คณะทำงานฯเดินทางไปสำรวจพื้นที่ของโรงเรียนทั้งสองแห่งแม้ว่าจะหลงทางบ้างเพราะเรายังไม่เคยมาที่โรงเรียนทั้ง 2 แห่ง มาก่อนและไม่มีผู้นำทาง
จากการที่ได้สำรวจพื้นที่ พบว่า เราควรจะรีบทำให้โครงการนี้เป็นจริงโดยเร็ว .........คาดว่าไม่มีอุปสรรคค่ะ...
เราน่าจะดำเนินการได้ดังนี้ คือ ออกแบบ การจัดวางโต๊ะ ชั้นหนังสือ ตู้ใส่ของ คอมพิวเตอร์ ให้เหมาะสมกับขนาดของพื้นที่ห้องของโรงเรียนที่จะทำเป็นห้องสมุด และกำหนด จำนวน /สี/รูปแบบเฟอร์นิเจอร์ นอกจากนั้นเรายังกำหนดให้มีโลโก้ "ห้องสมุดรามาธิบดี" และ เสื้อคณะทำงานนี้เป็นสีม่วงสวยงาม




การระดมสมองเพื่อสร้างสรรค์โครงการให้สำเร็จ

คณะทำงานฯมุ่งมั่นที่จะทำให้โครงการนี้สำเร็จโดยการ ประชุม ระดมสมอง เสนอความคิดเห็น เดือนละครั้ง มีการแจกจ่ายหน้าที่ให้คณะทำงานฯ แต่ละท่านตามความเหมาะสม ซึ่งทุกท่านมีการอุทิศตนในการทำงาน
อย่างเต็มที่





















โครงการห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคม.......โครงการดีๆที่น่าสนใจ

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีค่านิยมที่มุ่งเรียนรู้ คู่คุณธรรม นำสู่คุณภาพ นอกจากนั้นคณะฯยังตระหนักถึงการมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม(Corporate Social Responsibility-CSR) โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร และขาดแคลนห้องสมุดทำให้ด้อยโอกาสทางการศึกษาค้นคว้าและการเรียนรู้ตลอดชีวิต(Lifelong learning) เพราะห้องสมุดโรงเรียนเป็นที่รวบรวมสรรพวิทยาการต่าง ๆสำหรับค้นคว้า/สืบค้นสารสนเทศจากทั่วโลกของนักเรียนประกอบการเรียน การตระหนักถึงการมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมดังกล่าวข้างต้นนี้นับว่าคณะฯจะได้มีส่วนช่วยพัฒนาเยาวชนให้เป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคตได้ อีกทั้งเมื่อพิจารณาถึงพัสดุและครุภัณฑ์ เช่น ตู้ ชั้นวางของ โต๊ะ เก้าอี้และอื่นๆ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ของคณะฯ จำหน่ายออกแต่ ซึ่งนับวันจะมีมากขึ้นแต่ยังมีสภาพที่พอใช้งานได้ถึงดี ดังนั้นงานพัสดุ หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ และงานบริหารทรัพยากรแห่งการเรียนรู้

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีนโยบายร่วมกันที่จัดทำ โครงการห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคม โดย บริจาคตู้/ชั้นวางหนังสือ หนังสือคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า และผลิตสื่อการศึกษาตามเนื้อหาที่โรงเรียนนั้นๆ มีความประสงค์ รวมทั้ง ออกแบบการจัดห้องสมุดที่เหมาะสมให้แก่โรงเรียนในต่างจังหวัดที่ขาดแคลนห้องสมุดและมีความประสงค์ให้จัดทำห้องสมุดโดย กำหนดชื่อว่า ”ห้องสมุดรามาธิบดีเพื่อสังคม” และ จัดทำเป็นโครงการต่อเนื่อง เป็นลำดับที่ 2 ลำดับที่ 3 และต่อไปตามลำดับ

คณะผู้จัดทำมีแนวคิดว่าโครงการนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ในการขยายโอกาสให้โรงเรียนในท้องถิ่นให้ได้รับความรู้ประกอบการศึกษา รวมทั้งนำความรู้ไปประกอบอาชีพ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพด้วยปัญญา กระตุ้นให้นักเรียนอยากเรียนรู้ เพื่อเป็นกำลังที่สำคัญของประเทศชาติต่อไปแล้ว ยังเป็นประโยชน์ในการลดพื้นที่จัดเก็บพัสดุ/ครุภัณฑ์เหลือใช้รอจำหน่ายออกรวมทั้งการประชาสัมพันธ์ความเป็นคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ดีอีกด้วย


โครงการนี้เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ของ รองคณบดีฝายการพัสดุ ศาสตราจารย์ รณชัย คงสกนธ์ ที่ปรึกษา โครงการ และเป็นผู้ที่มุ่งมั่นที่จะพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานด้าน พัสดุของคณะฯให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยท่านพิจารณาว่า อีกไม่นานห้องสมุดจะต้องย้ายไปที่อาคารเรียนและปฏิบัติการรวมด้านการแพทย์ โดยมีการออกแบบใช้เฟอร์นิเจอร์ใหม่หมด ซึ่งเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่เกี่ยวกับห้องสมุดคณะฯ น่าจะนำไปให้บริจาคแก้โรงเรียนที่ขาดแคลน ดังนั้นโครงการนี้จึงเกิดขึ้น โดยมีการต่อยอดด้วยการออกแบบการจัดวางเฟอร์นิเจอร์และอื่นๆให้แก่โรงเรียนที่ร่วมโครงการฯ นอกจากนี้คณะทำงานยังมีผู้บริหารของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีที่เป็นที่ปรึกษาสำคัญให้โครงการนี้เป็นอย่างดี คือ
ศาสตราจารย์อร่าม โรจนสกุล รองศาสตราจารย์สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณวดี พุธวัฒนะ และคุณสมพร โชติวิทยธารากร
ในเบื้องต้น มี โรงเรียน 2 แห่ง คือ โรงเรียน สกัด 80 จังหวัดฉะเชิงเทรา และโรงเรียนวัดโพธิ์ประสิทธิ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขอเข้าร่วมโครงการ


ประโยชน์ของการทำโครงการนี้
1. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีได้เพิ่มบทบาทในการรับผิดชอบต่อสังคม และยังได้กระจายความรู้ สื่อด้านการศึกษา จากแหล่งที่เจริญกว่าไปสู่แหล่งที่ด้อยโอกาส ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองได้ตามความต้องการของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนในท้องถิ่นได้


2. นักเรียนของโรงเรียนที่ได้รับ “ห้องสมุดรามาธิบดี” มีทัศนะคติที่ดีต่อการศึกษาและเล็งเห็นความสำคัญของการเข้าห้องสมุดเพื่อค้นคว้าหาความรู้อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ อีกทั้งยังได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และเป็นการเปิดโลกทัศน์แก่เยาวชนของชาติ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

โครงการนี้เริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม 2552 โดยเริ่มที่ โรงเรียน สกัด 80 จังหวัดฉะเชิงเทรา คาดว่า ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ในการดำเนินการแล้วเสร็จ